วิสัยทัศน์
วิสัยทัศน์และบทบาทหน้าที่
การวิจัยในมนุษย์ในประเทศไทย ได้รับการทบทวน และกำกับดูแลด้านจริยธรรมอย่างมีคุณภาพมาตรฐานและต่อเนื่องตั้งแต่ก่อนเริ่มดำเนินการวิจัย ระหว่างดำเนินการวิจัยและหลังเสร็จสิ้นการวิจัยโดยอาสาสมัครวิจัยได้รับการคุ้มครองดูแลทั้งด้านศักดิ์ศรี สิทธิและปลอดภัย และความเป็นอยู่ที่ดี อย่างถูกต้อง เหมาะสมตามหลักจริยธรรมสากลว่าด้วยการวิจัย ตลอดจนมีการส่งเสริมให้การวิจัยในมนุษย์เป็นไปตามหลักจริยธรรมอย่างแท้จริง
เป้าหมาย
มุ่งพัฒนานโยบาย กฏหมาย ระเบียบ หลักเกณฑ์ หน่วยงาน องค์กร สถาบัน และบุคคลากรที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยในมนุษย์ ให้มีคุณภาพ มาตรฐาน สามารถเป็นเครื่องมือกลไกและทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยในมนุษย์ได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม ตามหลักจริยธรรมสากลของการวิจัยในมนุษย์
สถาบันมีบทบาทหน้าที่ดังนี้
- ภารกิจระยะสั้น
ยกร่างพระราชบัญญัติการวิจัยในมนุษย์ เพื่อเสนอต่อรัฐบาลและรัฐสภาเพื่อให้มีกฏหมายควบคุมดูแลการวิจัยในมนุษย์ในประเทศไทย ทั้งนี้เพื่อเป็นกลไกสำคัญในการคุ้มครองอาสาสมัครในมนุษย์อย่างเหมาะสม และส่งเสริมการวิจัยที่มีคุณภาพ มาตรฐาน
- ภารกิจประจำ
2.1 พัฒนาและเสนอนโยบายด้านการวิจัยในมนุษย์ในประเทศไทย
2.2 กำหนดมาตรฐาน หลักเกณฑ์และแนวทางการศึกษาวิจัยในมนุษย์ในประเทศให้สอดคล้องกับมาตรและหลักเกณฑ์สากล
2.3 ส่ง เสริม พัฒนา กำกับ ดูแล และรับรอง การดำเนินการของคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ของสถาบันและหน่วยงานต่างๆในประเทศ
2.4 แต่งตั้งและสนับสนุนการดำเนินการของคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ในระดับชาติ เพื่อพิจารณาโครงการวิจัยพหุสถาบันและโครงการพัฒนายา ชีววัตถุ และวิธีการรักษาที่มผลกระทบระดับชาติโดยถือเป็นคณะกรรมการในระดับชาติิ
ยุทธศาสตร์ ประกอบด้วย 5 ยุทธศาสตร์หลัก ได้แก่
- การพัฒนากลไกและเครื่องมือในการอภิบาลระบบ
- การพัฒนาศักยภาพในการดำเนินการคุ้มครองการวิจัยในมนุษย์
- การส่งเสริมและการดำเนินการเพื่อการคุ้มครองการวิจัยในมนุษย์
- การพัฒนาเครือข่ายองค์กรที่ดำเนินการคุ้มครองการวิจัยในมนุษย์
- การสร้าง และการจัดการความรู้
หลักการในการดำเนินการ
- Fill the gap- เน้นการพัฒนาส่วนขาดของระบบการคุ้มครองการวิจัยในมนุษย์ในประเทศไทย
- Togetherness- เน้นความร่วมมือกับองค์กร หน่วยงาน สถาบันทั้งในประเทศ และต่างประเทศ
- Holistic –เน้นการส่งเสริมการวิจัยบนพื้นฐานจริยธรรมครบวงจร