ในบรรดาหลักเกณฑ์หรือแนวทางสากลเกี่ยวกับจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ในปัจจุบัน นอกจากปฏิญญาเฮลซิงกิแล้ว แนวทางสากลที่ได้รับการอ้างอิงมากที่สุดคือ แนวทางจริยธรรมสากลสำหรับการวิจัยในมนุษย์ (International Ethical Guidelines on Biomedical Research Involving Human Subjects) ของสภาองค์การสากลด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ (THe Council for International Organizations of Medical Sciences) หรือเรียกย่อ ๆ ว่า CIOMS Guidelines แนวทางดังดล่าวนี้มีหลักการสำคัญเพิ่มเติมจากปฏิญญาเฮลซิงกิ ซึ่งมุ่งเน้นการคุ้มครองสิทธิ ความปลอดภัย และสุขภาวะของอาสาสมัครแต่ละคนเป็นหลัก - ให้ต้องพิจารณาประเด็นสำคัญอีก liquid viagra [1] 2 ประเด็น - ได้แก่ 1) ให้พิจารณามิติด้านชุมชนด้วย และ 2) ให้มีการพิจารณามิให้มีการเอารัดเอาเปรียบในกรณีการศึกษาวิจัยที่ได้รับทุนจากประเทศที่ร่ำรวย ไปทำวิจัยในประเทศที่ยากจน
โดยที่การวิจัยในมนุษย์ เกี่ยวข้องกับคนจำนวนมากที่มิใช่นักวิชาการ เช่น กรรมการจริยธรรมที่มิใช่ผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งคืออาสาสมัคร ซึ่งส่วนมากมีการศึกษาไม่สูง เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องเหล่านี้สามารถศึกษาแนวทางจริยธรรมนี้ได้ง่ายขึ้น สถาบันพัฒนาการคุ้มครองการวิจัยในมนุษย์ จึงได้แปลแนวทางฉบับนี้เพื่อเผยแพร่ ด้วยความเชื่อว่าทุกฝ่ายจะมีส่วนร่วมในการคุ้มครองอาสาสมัครวิจัย ได้ดีขึ้นเป็นการส่งเสริมให้การศึกษาวิจัยในคนในประเทศไทยถูกหลักจริยธรรมยิ่งขึ้น
สถาบันฯ ยินดีน้อมรับคำติชม เพื่อปรับปรุงแก้ไขคำแปลแนวทางฉบับนี้ให้ถูกต้องและอ่านง่ายยิ่ง ๆ ขึ้นต่อไป
Links:
[1] http://viagraonlineusa24h.com/
[2] http://www.ihrp.or.th/system/files_force/%E0%B9%81%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%88%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%A2%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%A9%E0%B8%A2%E0%B9%8C.pdf?download=1